Secretary General of the Chaipattana Foundation





วันที่ 11 พฤศจิกายน 2551
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ได้รับมอบเกียรติบัตรสมาชิกกิตติมศักดิ์ จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ มอบให้เพื่อเป็นเกียรติแก่การเป็นผู้อุทิศตนให้แก่สังคม ประเทศชาติ ดำเนินกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะอันเป็นที่ประจักษ์ มีส่วนสนับสนุนกิจกรรมของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ และวิชาชีพสถาปัตยกรรมอย่างต่อเนื่อง ณ สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา อาคาร 608 สนามเสือป่า กรุงเทพมหานคร

Print Email






วันที่ 9 พฤศจิกายน 2551
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เป็นประธานยกช่อฟ้าวิหารมงคลธรรมเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา และทอดผ้ากฐินสามัคคี ณ วัดทุ่งเศรษฐี อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

Print Email






วันที่ 8 พฤศจิกายน 2551
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา และนายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นประธานถวายผ้ากฐินพระราชทาน ประจำปี 2551 ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แด่พระสงฆ์ที่จำพรรษา ณ วัดตันตยาภิรม อำเภอเมือง จังหวัดตรัง

Print Email







วันที่ 1 พฤศจิกายน 2551
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา และนายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นประธานทอดกฐินสามัคคีสร้างพระพุทธรูปธรรมศาสตร์ 72 ปี เฉลิมพระเกียรติ ณ วัดธุดงคนิมิต อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

Print Email







วันที่ 31 ตุลาคม 2551
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา บรรยายพิเศษ เรื่อง "วิถีธรรมนำชีวิต แก้วิกฤตโลก" ในงานมหกรรมเกษตรธรรมชาติคิวเซ และสิ่งแวดล้อมครั้งที่ 17 มูลนิธิบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ด้วยกิจกรรมทางศาสนา จัดงานการแสดงผลงาน กิจกรรมนิทรรศการ ผลผลิตเกษตรธรรมชาติของสมาชิกมูลนิธิฯ โดยจะส่งเสริมและเผยแพร่งานด้านเกษตรอินทรีย์และเกษตรธรรมชาติคิวเซ และผลงานกลุ่มเกษตรกรจากทั่วประเทศที่มุ่งสู่นโยบายความปลอดภัยของอาหาร และโภชนาการเพื่อสุขภาพของมนุษย์ ณ บริเวณสำนักงานมูลนิธิฯ ศูนย์เกษตรธรรมชาติคิวเซ อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

Print Email



วันที่ 28 ตุลาคม 2551
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา นายลลิต ถนอมสิงห์ ผู้ช่วยเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา พร้อมด้วย คณะเจ้าหน้าที่สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการพัฒนาที่ดินของมูลนิธิชัยพัฒนา บ้านเหมือดแอ่ ตำบลหนองตูม อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น


สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานพระราชดำริ ให้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาดำเนินการรับที่ดิน จำนวน 42 ไร่ 1 งาน 32 ตารางวา ซึ่ง นาย ชาติชาย โฆษะวิสุทธิ์ ขอน้อมเกล้าถวายเพื่อทรงใช้ในกิจการของมูลนิธิชัยพัฒนา ซึ่งสำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ได้รับที่ดินไว้เป็นของมูลนิธิชัยพัฒนา เมื่อ วันที่ 29 พฤศจิกายน 2550 โดยมีแนวทางสำหรับการพัฒนาที่ดินในรูปแบบของการจัดทำให้เป็นศูนย์การเรียนรู้และการผลิต ผลิตผลทางการเกษตร (ไม้ผล พืชไร่ พืชผัก และด้านปศุสัตว์) สำหรับที่จะให้เกษตรกรผู้สนใจและนิสิต นักศึกษา เข้าเรียนรู้ การเกษตรกรรมที่ถูกวิธี และเน้น การลด ละเลิก การใช้สารเดมี ปุ๋ยเคมี หันมาใช้วิธีพึ่งพาตนเองให้มากที่สุด (การผลิตปุ๋ยใช้เอง การใช้พลังงานจากธรรมชาติ) รวมถึงมีการบูรณาการในด้านการทำงานร่วมกันระหว่าง เอกชนกับราชการ ซึ่งมีส่วนราชการเข้าไปร่วมกับโครงการนี้ ได้แก่ กรมพัฒนาที่ดิน กรมชลประทาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ภาคเอกชนได้แก่ กลุ่มโรงแรมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าร่วมมือในการพัฒนาที่ดินแห่งนี้







สำหรับความก้าวหน้าของการดำเนินโครงการปัจจุบัน ได้มีการจัดเตรียมพื้นที่สำหรับการเกษตรกรรมเรียบร้อยแล้ว คาดว่าจะผลิตผลออกทดสอบสู่ตลาดได้ภายในเดือนธันวาคมนี้

Print Email







วันที่ 26 ตุลาคม 2551
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ปาฐกถาเรื่อง ยุติความรุนแรง แสวงสันติด้วยการสานเสวนา ในงานการประชุมใหญ่ "เครือข่ายสานเสวนาเพื่อสันติธรรม" โดยผู้รักชาติและอยากเห็นสันติสุขเกิดขึ้น เพื่อร่วมกันรณรงค์ "ยุติความรุนแรง แสวงสันติด้วยการสานเสวนา" ณ หอประชุมใหญ่ กรมประชาสัมพันธ์ ซอยอารีสัมพันธ์ ถนนพระราม 6 กรุงเทพมหานคร

Print Email







วันที่ 26 ตุลาคม 2551
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา และ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สภาผู้ว่าการไลออนส์สากลภาครวม 310 ประเทศ เป็นประธานเปิดงานและตัดริบบิ้นปล่อยแพรผ้า ในงาน วันไลออนส์สากลบริการ ฉลอง 50 ปี ไลออนส์ไทย โดยสโมสรไลออนส์ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ได้จัดกิจกรรมบริการในโครงการสาธารณะประโยชน์เพื่อเด็กเยาวชน และประชาชนทั่วไป ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 15 โครงการ เช่น การมอบหนังสือสารานุกรมไทยโดยพระราชประสงค์ฯ การมอบทุนการศึกษา การออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ การมอบแว่นสายตา การจัดประกวดวาดภาพระบายสี กิจกรรมต่อต้านยาเสพติด ซึ่งจัดให้บริการ ณ บริเวณลานเอนกประสงค์ หน้าห้างสรรพสินค้ามาบุญครอง-โตคิว เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

Print Email








วันที่ 25 ตุลาคม 2551
นายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ได้ติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานโครงการศึกษาทดลองการเพาะปลูกปาล์มน้ำมันและเกษตรผสมผสานของมูลนิธิชัยพัฒนา ตำบลบางวัน อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา
โครงการดังกล่าวนี้ เป็นการสนองพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการพัฒนาพื้นที่ว่างเปล่าเพื่อทำการเกษตรรูปแบบต่างๆ ซึ่งสำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาได้จัดทำเป็นแปลงทดลองการปลูกต้นปาล์มน้ำมันสายพันธุ์ต่างๆ ได้แก่ พันธุ์สุราษฎร์ธานี 1-6 และพันธุ์คอมแพ็คจากประเทศคอสตาริก้า เป็นต้น เพื่อศึกษาสายพันธุ์ที่เหมาะสม รวมทั้งเป็นการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรให้ดียิ่งขึ้น ในปัจจุบันต้นปาล์มพันธุ์ต่างๆ เจริญงอกงามดี และมีราษฎรเข้ามาศึกษาดูงานและนำรูปแบบการปลูกไปปรับใช้ในพื้นที่ของตนเอง เช่น การนำทะลายปาล์มที่ไม่ใช้แล้วมาคลุมรอบโคนต้น เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นในดินโดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูแล้งที่มีการสูญเสียความชื้นมาก เพื่อไม่ให้ต้นปาล์มหยุดชะงักการเจริญเติบโตและช่วยเพิ่มหน้าดินที่เกิดจากไส้เดือนและกิ้งกืออีกด้วย





สำหรับต้นปาล์มน้ำมันพันธุ์สุราษฎณ์ธานี 1 ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้ทรงปลูกเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2549 เจริญเติบโตดีและเริ่มออกผลผลิตรอบโคนต้นเช่นเดียวกับปาล์มน้ำมันต้นอื่นๆ ที่ปลูกในระยะเวลาใกล้เคียงกัน

Print Email

วันที่ 24 ตุลาคม 2551 นายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ส่งมอบอาคารเอนกประสงค์ศูนย์รับผู้อพยพหลบภัยกรณีเกิดภัยพิบัติคลื่นสึนามิและท่าเทียบเรือท่ากาหยู แก่นายวันชาติ วงศ์ชัยชนะ ผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง ซึ่งอาคารดังกล่าวนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประธานกรรมการมูลนิธิชัยพัฒนา ได้พระราชทานงบประมาณการดำเนินงานตามที่ผู้ใหญ่บ้านบางเบน หมู่ 2 ตำบลม่วงกลวง อำเภอกะเปอร์ จังหวัดระนอง ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานความช่วยเหลือ
อาคารเอนกประสงค์ศูนย์รับผู้อพยพหลบภัยกรณีเกิดภัยพิบัติคลื่นสึนามิ เป็นอาคารชั้นเดียว เนื้อที่ใช้สอย 480 ตารางเมตร สามารถรองรับปะชาชนได้ 500 คน ในยามที่ไม่มีภัยพิบัติราษฎรสามารถใช้อาคารนี้เพื่อการฝึกอบรมอาชีพและเป็นที่ประชุมของหมู่บ้านได้ด้วย







สำหรับท่าเทียบเรือท่ากาหยูและการขุดลอกคลอง ซึ่งเกิดการตื้นเขินมีสาเหตุมาจากคลื่นยักษ์สึนามิได้พัดทราย โคลนและเศษซากต่างๆ มาอยู่ในลำคลองทำให้การสัญจรไปมายากลำบาก การขุดลอกคลองและสร้างท่าเทียบเรือแห่งใหม่นี้ ทำให้ราษฎรสามารถขนส่งและจำหน่ายผลผลิตประมงได้สะดวกขึ้น รวมทั้งใช้เป็นที่หลบพายุในช่วงฤดูมรสุมได้อีกด้วย







Print Email